[Top Secrat] ความจริงใน Isan Hackathon
สวัสดีครับทุกท่านวันนี้ผมมีความจริงมาเล่าให้ฟังเกี่ยวกับงาน Isan Hackthon ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 5–7 กรกฎาคม 2560 ที่ผ่านมา โดยงานจัดขึ้นที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี หรือ ที่รู้จักกันในชื่อ “มทส”
ซึ่งมีหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยอย่าง SEDA เป็นผู้ดำเนินงาน เพราะหากไม่มี SEDA งาน Hackathon ครั้งนี้ยากที่จะเกิดขึ้นได้ครับ ซึ่งแน่นอนว่านี่ไม่ใช่ ครั้งแรกที่ SEDA จัดงาน แต่นี่เป็นงาน Hackathon ครั้งที่ใหญ่ที่สุด เพราะครั้งก่อนๆจะจัดเพียงในจังหวัด หรือภายในมหาลัยเท่านั้น แต่ครั้งนี้แตกต่างตรงที่ผู้เข้าร่วมงานจะเป็นใครก็ได้ เหมาหมดทั้งภาคอีสาน และยังมีผู้ร่วมงานจากภาคอื่นๆที่สนใจเข้ามาร่วมอีกต่างหาก
เอาล่ะครับผมเกริ่นมาซะนานมาฟังความจริงกันว่า Isan Hackathons มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง!
- ครั้งนี้มีเงินรางวัลรวมจากของ sponsers สูงสุดกว่า 200,000 บาท
- ผู้เข้าร่วมงานกว่า 300 คน แบ่งออกเป็น 27 ทีมที่เข้าร่วมการแข่งขัน
- ผู้เข้าร่วมการแข่งขันที่อายุน้อยที่สุด คือ 17 ปี (น้องๆ ม.6)
- อาหารการกินแบบจัดเต็ม ตลอด 24 ชม ถึงมันจะหมดเพราะพวกเรากินเยอะ กินกัน ทั้งคืน ก็ตาม ^^
- อุปกรณ์ โต๊ะ เครื่องเขียน น้ำ ไฟ อินเตอร์เน็ตแบบ Non-Stop มันมากมายจริงๆ
- เป็นการแข่ง Hack ที่ใช้เวลายาวนานที่สุดเท่าที่ผมเคยแข่งมา คือ กว่า 56 ชั่วโมง
- รวมตลอดการแข่งขันผม และทีมนอนกันไปไม่เกิน 4 ชั่วโมง
- รูปแบบการแข่งขันจะไม่เหมือนงาน Hackathons ทั่วไปมากนัก เพราะไม่ได้เน้นที่ Prototype เพียงอย่างเดียว แต่ Business plan และ Marketing analysis ต้องมีแบบจัดเต็ม ไม่อย่างนั้นคะแนนหายไป 40% เลยทีเดียว
- การ Pitching และการถามตอบไม่ต้องพูดถึง ต้องจัดหนักมากๆ เดี๋ยวเล่าให้ฟังครับ
- ตลอดภายในงานไม่ได้ปล่อยให้ผู้เข้าร่วมการแข่งนั่ง Hack กันแบบตามมีตามเกิด แต่ทาง Isan Hackathons นั้นได้จัด Workshop ให้ผู้เข้าร่วมงานด้วย ไล่ตั้งแต่ด้าน Pitching, Business modeling, Chatbot, Data Analyst, และยาวไปจนถึงการทำ 3D printing วิทยากรมาให้ความรู้แบบเน้นๆ เลยครับ
- ทีมที่ชนะอันดับที่ 2 คือ ทีมน้องๆ ม.6 และเป็นผู้เข้าแข่งขันที่อายุน้อยที่สุดด้วยนะ (สุดยอดมากกกกครับ)
ใครชนะล่ะงานนี้?
ต้องบอกก่อนครับว่า รางวัลที่แจกในงานครั้งนี้มีเยอะมาก เกือบๆ 10 รางวัลได้ครับ ไล่ตั้งแต่ รางวัลชมเชย, รางวัลจาก Sponsors ซึ่งก็มีทั้ง AIS, OSD Company, และ รายอื่นๆอีกมากมายครับ, และแน่นอนครับรางวัลอันดับ 1–3 เพราะฉะนั้นมีหลายทีมที่ไม่ได้กลับบ้านมือเปล่าอย่างแน่นอนครับ
สรุปใครชนะ?
5555 หลายๆท่านที่รู้อยู่แล้วก็อาจจะแอบหมั่นไส้นิดหนึ่งว่า “เน้นบ่อยเหลือเกินนะ” 55555
แน่นอนครับทีมที่ชนะเลิศ คือ ทีม CheckMate จาก HyperTypes
และก็เป็นทีมของผมเองด้วยคร้าบบบบบ >////<
คำถามที่สำคัญกว่าใครชนะ คือ ชนะได้ยังไง เล่าให้ฟังบ้างสิ
เอาล่ะครับต่อจากนี้ไปจะเป็นเรื่องราวของ CheckMate ล้วนๆพร้อมเล่าความลับว่าเราทำยังไง ถึงได้เงินรางวัลมา ต้องขอบอกก่อนว่า เราไม่ได้ชนะมาแค่รางวัลอันดับที่ 1 นะครับ แต่เรายังได้เงินรางวัลจาก OSD Company ในด้าน MVP Team ซึ่งเป็นเงินรางวัลที่มากที่สุดจาก Sponsors อีกด้วยครับ ^^
เริ่มกันเถอะ!
ความลับที่ทำให้เราชนะ ผมประมวลออกมาเป็นองค์ประกอบต่างๆเหล่านี้ครับ
องค์ประกอบที่ 1
Team, Team, and Team
สำหรับงานนี้องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เราคว้าชัยมาได้ ไม่มีอะไรจะสำคัญไปกว่าทีมงานที่แข็งแกร่ง!
ส่วนตัวผมนั้นในอดีตที่ผ่านมาประสบพบเจอกับ Teletubbies (เทเลทับบี้) ทีม มาเยอะจนไม่อยากจะทำงานร่วมกับใครมาก แต่วันนี้มาได้เจอทีมงานระดับ Avangers เลยรู้สึกโชคดีมากๆ ว่าวันหนึ่งเราก็มีทีมงานที่เคมีเข้ากันได้แล้วววว~
แบบไหนผมถึงเรียกว่า Avangers Team
- สมาชิกแต่ละคนมีความสามารถพิเศษเฉพาะตน
- สมาชิกให้ความเครพซึ่งกันและกันค่อนข้างมาก อายุไม่เกี่ยวเลย
- สมาชิกรู้หน้าที่ของตัวเองเป็นอย่างดี พร้อมลุยทุกปัญหา
- สำคัญเลยผมเชื่อว่าพวกเราไว้ใจกันครับ งานจึงสำเร็จ
- ทุกคนเป็นองค์ประกอบกันจริงๆ ไม่ใช่ว่าต้องมีใครมาสั่ง งานถึงจะเดิน
ต้องแอบบอกก่อนว่านี่เป็นการร่วมงานกันครั้งแรกของทีม ถึงแม้พวกเราบางคนจะรู้จักกันมาบ้าง แต่ก็ไม่เคยทำงานร่วมกันมาก่อน ดังนั้นนี่ คือ สุดยอดทีมในฝันของผมเลยที่ สามารถทำงานเข้าขากันได้ เป็นอย่างดีแม้สถานการณ์จะกดดันมากแค่ไหนก็ตาม
เพราะฉะนั้นตามหาทีมของคุณให้พบแลัวความสำเร็จจะง่ายกว่าที่คิด
ต่อให้คุณเก่งแค่ไหน แต่ไปอยู่ในทีมที่ห่วย สภาพแวดล้อมที่พร้อมทำลายไฟ และกำลังใจของคุณ ต่อให้คุณตั้งแต่ หรือขยันแค่ไหนมันก็ยากที่จะสำเร็จครับ
สมกับคำที่ว่า…
“หากคุณเอาไอเดียแย่ๆโยนให้ทีมงานเจ๋งๆ พวกเค้าจะหาทางปรับมันให้ดีขึ้นได้
แต่หากคุณเอาไอเดียดีๆ โยนให้ทีมงานแย่ๆ คุณจะพบว่าทุกอย่างมันพังพินาศ”
องค์ประกอบที่ 2
เป้าหมาย!
เราคุยกันตั้งแต่เริ่มงานแล้วว่าเราจะมาเอารางวัลไหนบ้าง ซึ่งเราพลาดเป้าไปเพียง 1 รางวัลเท่านั้น คือ AIS Sponsors เหตุที่เราพลาดไป จากความคิดเห็นของผมมันคงจะน่าเกียจไปถ้าทีมๆหนึ่ง แทบจะได้หมดทุกรางวัลเลย จริงไหมล่ะครับ^^
ถึงแม้ความเป็นจริงจะตอบสนองความโลภของผมไม่ได้ เพราะฉะนั้นเรามาดูเทคนิคที่ทีมเราตั้งเป้าหมายกัน
- เนื่องจากอายุเฉลี่ยของผมเราในทีมรวมกัน ก็จะพบว่าไม่ใช่เด็กๆกันแล้ว ดังนั้นการที่พวกเรามางานนี้ จึงไม่ได้แค่มาเอาประสบการณ์ แต่พวกเรามาเอารางวัล!!!
- รางวัลที่พวกเราตั้งเป้าหมายไว้จึงเป็นการประมวลผลแบบ Greedy Algorithms ที่ไม่ต้องพลังงานเยอะ
- เนื่องจากการผ่านโลกมาของพวกเราสอนอะไรเราหลายอย่าง โดยเฉพาะ ความเข้าใจใน Sponsors
- ถ้าผมจะเป็น Sponsors ให้กับงานซักงานหนึ่ง ผมคาดหวังอะไรบ้าง? แน่นอนครับนั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้เราได้รางวัลจาก บริษัท OSD ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาด้าน Solution ต่างๆเพื่อแก้ปัญหาของท่านอย่างยั่งยืน และยังเป็นผู้ใหญ่ใจดีที่พร้อมจะสนับสนุนคนรุ่นใหม่ไฟแรงอย่างพวกเราครับ (ยังๆๆ ยังไม่หยุดขายอีก >///<)
- เมื่อเป้าหมายชัด พวกเราย่อมรู้กันดีครับว่าจะต้องทุ่มเทแค่ไหนถึงจะพอ ถึงจะมากกว่าคู่แข่ง เพราะงานนี้เราไม่ได้แข่งกับแค่ตัวเราเอง แต่เราต้องแข่งกับคนอื่นๆจริงๆ ดังนั้นมาตราฐานเราต้องสูงครับ
องค์ประกอบที่ 3
ความพร้อม!
ความพร้อมในการแข่งครั้งนี้ผมบอกได้เลยว่าพร้อมมากตั้งแต่ระดับ Physical ยัน Mental เลยครับ
เนื่องจากผมมีเวลาก่อนหน้าประมาณ 1 อาทิตย์ทั้งงานสอน งานโปรเจค และงานวิจัย แน่นอนครับว่าเป็นอาทิตย์ที่เหนื่อยมากที่ต้องทำทุกอย่างให้เสร็จไม่อย่างนั้นค้างคา และอาจจะทำให้การ Hackathon ไม่สนุกอย่างนี้ก็ได้
คุยกันในด้าน Physical กันก่อน
- ต้องขอบคุณ ‘พี่เต๊ะ พี่ดอย’ ที่จัดจอคอม 32 นิ้ว หมอน พรม โต๊ะเล็ก หมอน สายไฟ และ …อีกมากมาย ให้ทีมงานได้ทำงานกันแบบสบายๆสุดๆไปเลยยยย~
- สถานที่ต่างๆที่เราเลือกในการตั้งฐานก็สำคัญมากๆ เราเลือกบริเวณที่ไม่หนาวมาก และใกล้กับห้องน้ำเพื่อที่จะได้ไม่เสียเวลา เดินมากเกินไป และที่ขาดไม่ได้เลย คือ บริเวณที่พวกเราอยู่ไม่ได้มีคนพลุกพล่านมาก จึงสามารถคุยเรื่องไอเดีย และสามารถวางแผนกันได้สบายๆเลยครับ
ด้าน Mental
- อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่าเรามีเป้าหมายเราถึงมา
- และเพราะเราเชื่อว่ามันจะสนุกมากเราก็มา
- นอกจากสนุกเรายังต้องการพิสูจน์อะไรบางอย่าง ซึ่งแต่ละคนผมว่าก็คงไม่เหมือนกัน
- สำหรับตัวผมแล้วนี่เข้าปีที่ 10 พอดีสำหรับงานด้าน Programming และช่วงก่อนหน้านี้ได้พบประสบการณ์แย่ๆมาก ผมจึงต้องหาทางเรียก Self-Confidence ของผมคืนมา ซึ่งผมทำสำเร็จ!!!
- คืนมันสนุกสุดๆ จริงๆเมื่อคุณได้ทำงานกับมืออาชีพแบบพวกเค้า^^
สำหรับการตัดสินใน Isan Hackathons
แน่นอนว่าในงานมีเกณฑ์การตัดสินแหละ แต่ผมจำไม่ได้ >////<
ดังนั้นมาสรุปในส่วนที่ผมจำได้แล้วกันเนอะ
เริ่มที่ด้านผลงานกันก่อน (Prototype)
เนื่องจากผมเคยเข้าร่วม Hackathons ในหลายๆที่มาตั้งแต่ตอนยังเป็น นิสิต เลยมีเชื่อมาเสมอว่า Hackathon ที่มันส์ มันต้องมา Hack กันในงาน มางัดกันสดๆ แบบนี้มันส์จริงๆ ผม confirm เพราะในครั้งนี้ผมก็ยังทำแบบนั้นอยู่มันเลยมันส์สุดๆๆๆ ไปเลยยยยยย~
(ผมอยากให้คุณนึกถึงฉากในหนังเรื่อง The Social Network ที่ Mark และเพื่อนๆร่วมกันนั่งคิดสูตรและทำ FaceMesh ขึ้นมาในคืนนั้น อารมณ์มันประมาณนั้นเลยครับ https://www.youtube.com/watch?v=BPazh2kDdvA)
โอเคร เราทำระบบขึ้นมา 3 ระบบด้วยกันครับจากคน 3 คน
- Mobile Application
- Desktop Application
- IoT-Embedded systems
ทั้ง 3 ระบบนี้เราใช้เวลากันเพียง 56 ชั่วโมง ซึ่งจริงๆแล้วงานนี้ถ้าผมทำในเวลาปกติ คาดว่าอยู่ที่ 1 เดือนเสร็จครับ แต่เราทำได้ในเวลา 2 วันเท่านั้น!
สำหรับตัวผมนั้นรับผิดชอบในส่วนของ Mobile Application ที่จะต้องสามารถรับส่งข้อมูลจาก Server และ Push Notification ได้เพราะนี่มัน คือ จุดขายสำคัญ เพราะเมื่อ Sensors สั่งงานมันตัอง Push notify มาที่มือถือได้
ส่วน Desktop app ทำหน้าที่สร้าง simulation ของงานฟาร์มขึ้นมา และต้องสามารถต่อเข้ากับกล้องของบริษัท OSD ที่เราพึ่งเคยใช้กันในงานเป็นครั้งแรกได้ด้วยครับ งานนี้มันเลยมันส์มากๆ ไงครับ
ส่วน Sensors นั้นถูกออกแบบให้สามารถนำไปติดกับวัวได้จริงๆ และส่งสัญญานผ่าน NB-IoT ของ AIS ซึ่งพวกเราทำสำเร็จครับ!!!
ทุกอย่างสามารถส่งไปแสดงบนมือถือได้รวมถึงภาพที่ได้รับมาจากกล้องด้วย เราทำได้ใน 2 วันครับ (แต่ได้นอนเพียง 4 ชั่วโมงเท่านั้นนะครับ 55555+)
เมื่อระบบสมบูรณ์เราก็พร้อมจะ Demo ครับ
ด้านการ Pitching
งาน Isan Hackathons แบ่งเวทีการ Pitching ออกเป็น 2 เวทีด้วยกันครับ
- Business Pitching
- Prototype Pitching
ซึ่งกรรมการทางด้านธุรกิจ กับด้านเทคนิคจะแยกกันไปตามเวทีต่างๆครับ
ตัวผมนั้นได้รับความไว้วางใจจากทีม ให้ Pitch ในฝั่ง business ครับ ซึ่งอย่างที่ผมบอกไปตอนแรกครับว่าทีมเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากขนาดไหน เพราะใน คืนสุดท้ายการ Coding ยังไม่จบและยิ่งทวีความรุนแรง ความโหดร้ายขึ้นมาก ง่วงมากๆ แต่งานยังไม่จบก็ต้องลุยกันให้สุดครับ ไม่งั้นสูญเปล่าอย่างแน่นอน การ Coding ของผมมาจบลงในช่วง 06.00 เช้า แต่ในขณะนั้นทีม Business ยังคงนั้ง คำนวน หาข้อมูลตลาด และทำ Slide เพื่อให้ผมขึ้น Pitch!!
แต่ตอนนั้นผมไม่ไหวแล้วครับ Programming team จึงได้กลับไปนอนพัก และตื่นกลับมาในงานตอน 09.30 เพื่อส่ง Slide และ Prototype ทีม Business ยังไม่ได้นอน 55555 โหดมากๆๆๆ ครับ
จากนั้นประมาณ 11.00 เช้า ผมกับ ทีม Business จึงเริ่มซ้อม Pitching กัน ผมมีความเชื่ออย่างหนึ่งว่า “Practices make Better!” เราจึงซ้อมๆๆๆ จนถึงประมาณ 12.30 ถึงกลับเข้ามานั่งต่อในงานดูทีมอื่นๆ ขึ้น Pitch กันไป ส่วนตัวผมใช้เวลาช่วงนั้นทำสมาธิให้หนัก และมากที่สุด เพราะว่าร่างกายไม่พร้อม อดนอน ผมจะหลุดง่ายมาก จึงต้องสร้างสมาธิขึ้นมาทดแทน
จนถึงเวลาของเราครับ ทีมที่ 16 ก่อนขึ้นเวลามีอาการตื่นเต้นมาก คันคอ จะไออยู่ตลอด น้องวิว การตลาด จึงไปเอาน้ำมาให้เลยดีขึ้นเยอะครับ และที่สำคัญพอได้ขึ้นเวลาเวทีไปนั้น พี่หญิงซึ่งเป็นพิธีกร บนเวทีได้ชวนคุยก่อน เพราะยังไม่ได้สัญญาน ให้ pitch จากทางทีมงาน เลยทำให้ผ่อนคลายลง และรู้แล้วว่าร่างกายกับจิตใจ ของเราตอนนี้อยู่ State ไหน และต้องทำยังไงต่อ
ใช่แล้วครับ และผมก็เริ่ม Pitching มีเวลาให้เพียง 5 นาทีเท่านั้น ซึ่งเป็น 5 นาทีจริงๆ ที่ไม่ได้มีต่อ มีแถมให้ เพราะพอหมดเวลาทุกอย่างจะถูกตัดและเปลี่ยนเป็น Session ถามตอบทันที
5 นาทีนั้นเป็น 5 นาทีที่ดีที่สุด ดีกว่าที่ซ้อมมานับ สิบๆครั้งได้ และผมพูดได้หมด ได้ครับทุก slides ที่สำคัญผมใช้เวลา 4 นาที 59 วินาทีพอดีเด๊ะๆ
เมื่องถึง 5 โมงเย็นทาง Isan Hackathon จึงเริ่มประกาศรางวัล ซึ่งแน่นอนครับ
พวกเราชนะเลิศอันดับที่ 1 และได้รับรางวัล MVP Team จาก OSD อีกด้วยครับ^^ เย้ๆๆๆ
ทั้งหมดนี้ คือการบอกเล่าตามความทรงจำ และความประทับใจของผม
อาจมีบางส่วนตกหล่นไปบ้าง ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ครับ ถ้าหากมันยาวไปแล้วขี้เกียจอ่านก็มานั่งเรียนเขียนโปรแกรมกับผมซักวันแล้วผมจะเล่าให้ฟังครับ ^^
สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณผู้มีพระคุณ ดังต่อไปนี้ครับ
ขอขอบคุณ SEDA
ที่ทำให้เกิดงานมันส์ๆ อย่างนี้ขึ้น และหากไม่มี SEDA ก็จะไม่มีทางทำให้ผมได้พบกับทีมงานคุณภาพแบบนี้ได้เลย
อาจารย์ ดร.มัลลิกา สังข์สนิท SEDA
กับกำลังใจที่ให้พวกเรา HyperTypes มาโดยตลอดอีกทั้งคำปรึกษาที่สำคัญมากๆ ในการที่ต้องตัดสินใจเรื่องยากๆ ขอบคุณคร้าบบบบ
พี่ต้น SEDA
กับคำแนะนำดีๆ ตั้งแต่วันแรกที่รู้จักกับพี่ต้น จนถึงวันนี้ ที่สำคัญได้หลายอย่างมาจากพี่ต้นจึงกลายเป็น คำพูดและการตอบคำถามในการ Pitching วันนั้นครับ ขอบคุณคร้าบบบ
พี่ติ SEDA
กับการดูแลตั้งแต่ที่เข้ามาใน SEDA ร่วมถึงโอกาสการร่วมงานต่างๆ ที่ได้รับครับ ขอบคุณคร้าบบบ
ขอขอบคุณ บริษัท OSD จำกัด
ที่เห็นโอกาสการเติบโตในพวกเรา และได้มอบโอกาสทางธุรกิจดีๆให้กับเราอีกด้วย จึงต้อบขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วยคร้าบบบ
http://www.osd.co.th/
ขอขอบคุณ บริษัท AIS จำกัด มหาชน
ถึงจะไม่ได้รางวัลจาก AIS ตามที่คาดหวังไว้ แต่จากการได้คุยกับพี่ๆผมเชื่อว่าพี่ๆก็อย่างให้พวกเราครับ 5555 จึงต้องขอขอบคุณ AIS ด้วยคร้าบบบ
ขอขอบคุณ HyperTypes
ที่ Hyper ใน Types ของตัวเองสมชื่อจริงๆครับ
(พี่เต๊ะ พี่ดอย พี่อาร์ท พี่อ้อม น้องไดร์ฟ น้องวิว น้องแพร น้องฟรุ๊ค)
ขอขอบคุณ AdaBrain และ BeBalance
ที่ให้เข้าร่วมงานทั้งที่มีสอนหนักๆทั้ง 2 วัน แต่ก็หาทางออกกันได้
คุณนายแม่ ที่เข้าใจการทำงานของลูกชาย และไม่ค่อยได้กลับบ้าน
คุณโบว์ ผู้คอยให้กำลังใจอยู่เบื้องหลัง และทุกความสำเร็จ
และน้องๆทุกคนที่ AdaBrain และ BeBalance
ขอขอบคุณอาจารย์ที่ปรึกษา
ผศ. ดร. ปรเมศวร์ ห่อแก้ว ด้วยนะครับที่ให้โอกาสเสมอมา
และให้เลื่อนส่งงานจนถึงหลังงานแข่งด้วยคร้าบบบ
ขอบคุณคร้าบบบบ~
จบอย่างสมบูรณ์แล้วครับ
ขอขอบคุณท่านผู้อ่านมากๆครับที่อ่านมาจนถึงบรรทัดนี้ครับ
สวัสดีครับ^^