Contributing Something better than NOTHING

Ada Kaminkure
2 min readJul 1, 2021

--

หลายวันมานี้พึ่งได้อ่านหนังสือ
Show Your Work!: 10 Ways to Share Your Creativity and Get Discovered
ของ Austin Kleon

ต้องบอกว่าสร้างแรงบันดาลใจให้กับเราเป็นอย่างมาก Austin Kleon พยายามนำเราออกมาจากความกลัว และแนวคิดที่ว่าจะต้องสร้างผลงานให้สมบูรณ์แบบซะก่อนแล้วถึงค่อยนำมันออกมาสู่สายตาผู้คน อีกทั้งแนวคิดแบบ Original Ideas เท่านั้นที่ตัวเราเองถึงจะยอมรับที่จะทำมันได้ ผมบอกได้เลยว่าเป็นหนังสือที่จะนำพาเราไปต่อสู้กับความกลัวในจิตใจของเราแบบเป็นรูปธรรมเล่มหนึ่งที่ผมเคยอ่านมา

โดยเฉพาะวลีข้างต้นที่เราหยิบมาเพื่อเป็น Title ของ blog นี้ มันจริงซะยิ่งกว่าจริง ตัวเราเอง และมนุษย์ส่วนมากของโลกใบนี้ ยอมที่จะไม่ทำอะไรเลยดีกว่าจะมีส่วนร่วมเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการขับเคลื่อนผลงาน, ประเทศ, หรือโลกใบนี้

ดังนั้นแล้ว Austin Kleon เปลี่ยนมุมมองการทำงานของเราไปมาก จากเดิมที่เราพยายามปกปิดว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ ปิดมัน คลุมผ้าไว้แล้วรอเปิดทีเดียวตอนวันแสดงผลงาน แต่ทุกคนรู้ไหมครับว่ามันแย่แค่ไหนเมื่อผลงานที่เราคิดว่ามันสมบูรณ์ คิดมารอบด้านแล้ว แต่เมื่อวันที่เราเปิดมันออกมัน เรากลับพบว่าในหลาย ๆ ครั้งมันไม่ได้เป็นที่ต้องการ ไม่ตอบโจทย์ มีข้อผิดพลาดที่ยังไม่ได้พัฒนาเต็มไปหมด

Think Process, Not Product

วิธีการแก้ปัญหาของเรื่องนี้มันง่ายมากกกกกกกกก มากจนเรามองข้ามมันไป นั่นคือ ให้ Think Process, Not Product เชื่อเราสิ ว่ามนุษย์ชอบเห็น และอยากรู้ที่มาที่ไปของสิ่งต่าง ๆ มากกว่าจะบอกว่า “นี่! ใช้ดีเอาไปลองสิ” ถูกต้องไหมครับ

เราชอบดูนั่งดูวิธีการผลิตสิ่งของต่าง ๆ จากวิดีโอใน Youtube และ Facebook มากกว่าการนั่งดู Saleman มาขายของพูดข้อดีต่าง ๆ ให้เราฟัง

เราชอบดูคลิปการทำขนมเค้กต่าง ๆ แบบ Timelaspe แล้วลุ้นว่าจะออกมาเป็นอะไร หน้าตายังไง เห็นไหมครับมันได้ผล Austin พยายามนำเสนอการโชว์ผลงานของตัวเราเองแบบ ทีละเล็กทีละน้อย ค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไป ในหลาย ๆ ครั้งผู้คนชอบเห็นพัฒนาการ และการเติบโตของคนที่ตัวเองรัก และสนับสนุนคล้าย ๆ ที่เหล่าโอตะสนับสนุนน้อง ๆ BNK48 เพราะได้เห็นคนที่ตัวเองชื่นชอบเติบโต และขอให้ได้เป็นส่วนร่วม เป็นกำลังใจให้พวกน้อง ๆ ได้เติบโต

เพราะฉะนั้นการรอให้ผลงานเสร็จสมบูรณ์ แล้วค่อยแสดงผลงานนั้นออกมา ก็อาจจะสายไปเสียแล้วสำหรับการสร้างสรรค์ผลงานในยุคที่ข้อมูลมีความเร็วพอ ๆ กับความเร็วแสง

Professional vs Amateur

และอีกหนึ่งไอเดียสำคัญมาก ๆ เลย คือ คุณไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเป็น “อัจฉริยะ” ถึงจะสร้างสรรค์ผลงานดี ๆ ออกมาได้ ใคร ๆ ก็ทำได้ แค่มีความคิดที่ถูกต้อง ที่จะทำ หรือ อยากจะทำมันก็เพียงพอแล้ว

ในหลาย ๆ ครั้งเรามักจะติดกรอบของการเป็น Professional หรือ มืออาชีพ คำ ๆ นี้ในบางครั้งมันทำให้เรา มองไม่เห็นความเป็นไปได้ต่าง ๆ เพราะความรู้ที่เรามี มันจำกัด เราประเมินแล้วพบแต่ความเสี่ยง ความไม่คุ้มค่า ไม่ได้เงิน ไม่ทำกำไร มืออาชีพก็ไม่อยากที่จะทำมันแล้ว ถูกต้องไหมครับ

ในทางกลับกัน Amateur หรือ มือสมัครเล่น กลับมองเห็นความเป็นไปได้ต่าง ๆ นานา มากมาย เหตุผล ถ้าเราพูดกันตามตรงอ่ะนะ ก็คือว่า “ไม่ได้มีความรู้ มาตีกรอบ” พวกเขาคิดว่าสิ่งนี้น่าจะเป็นไปได้ น่าจะลองทำดู ลองเสี่ยงดวงกัน และพวกเขาก็เริ่มลงมือทำ พวกเขายืนอยู่บนความไม่แน่นอนแต่มันก็ 50/50 ระหว่าง ความสำเร็จ กับ ความล้มเหลว

แต่ในขณะที่มืออาชีพตัดสินใจที่จะไม่ลงมือทำมันไปซะแล้ว พวกเขายืนอยู่ข้างความแน่นอน 100% ผมไม่อาจตอบได้ว่าเป็นความสำเร็จ หรือความล้มเหลว เพราะปัจจัยนี้มันไปขึ้นอยู่กับ กลุ่มมือสมัครเล่นเป็นที่เรียบร้อยไปแล้ว ความสำเร็ว และความล้มเหลวของกลุ่มมืออาชีพจะถูกตัดสินได้จาก ความเพียรพยายามของอีกกลุ่มหนึ่ง

เราชอบแนวคิด และวิธีการของมือสมัครเล่น ที่ Austin นำเสนอมามากครับ เพราะมันทำให้เราเดินไปข้างหน้าได้เรื่อย ๆ ไม่ติดกรอบ ไม่มีเพดาน เราอาจจะเป็นมืออาชีพในเรื่องหนึ่งแต่ ณ วินาทีที่เราทำการศึกษาเรื่องใหม่ ๆ เราก็กลายเป็นมือสมัครเล่นของเรื่องนั้น ๆ ไปเป็นที่เรียบร้อย เราเลยมองเห็นว่ามันไร้ประโยชน์มาก ๆ ที่จะไปวิ่งไล่คว้า การยอมรับจากใคร ๆ ว่าเราเนี่ยมืออาชีพนะ

Austin บอกกับเราต่อว่า “ผมไม่ได้สนใจนะว่า Resume ของคุณจะสวยหรูแค่ไหน”

แต่ผมสนใจว่า “เมื่ออาทิตย์ที่แล้วคุณกำลังทำผลงานอะไรอยู่” มันดีกว่านะถ้าบริษัทที่คุณกำลังจะไปสมัครงาน เคยเห็นงานของคุณมาแล้วบน Youtube, Medium, หรือ Github มันเหมือนกับว่าเรารู้จักคุณแล้ว และแค่อยากถามคุณเฉย ๆ ว่าอยากจะมาทำงานกับเราไหม ? ง่าย ๆ แค่นั้น

เรายังอ่านหนังสือเล่มนี้ไม่จบ

แต่แค่นี้ Austin ก็ทำให้เราลุกขึ้นมานั่งเขียน Blog ทำ Video ลง Youtube ได้แล้ว

เราว่าคุณลองอ่านงานเขาซะหน่อยก็น่าจะดีนะ ถ้าคุณเป็นคนแบบเราที่กลัว ที่จะแชร์ผลงานให้ใครเห็น หรือกลัวคำวิจารณ์จนไม่กล้าจะปล่อยผลงานออกมา

เราเข้าใจ เราคิดเสมอว่ามีคนที่เก่งกว่าเราอยู่อีกเยอะแยะมากมายบนโลกใบนี้

เราคิดว่าถึงแม้ว่าผลงานที่เราจะทำมันไม่ได้เกี่ยวกับสายที่เราเรียนจบมา พวกมืออาชีพในสายงานนั้น ๆ จะคิดยังไงกับงานเรานะ

สุดท้ายเราก็ได้พบว่า “เสียเวลา” ที่จะคิดไปก่อนกาล หากมันมีข้อผิดพลาดจริง ๆ เราก็คงน้อมรับ และพัฒนางานของเราต่อไป

มันก็ “แค่นั้นเอง”

Over thinking ของเราเองต่างหากที่เป็นตัวทำลาย
และหยุดยั้งทุกอย่างเอาไว้เอง
ไม่ได้เกี่ยวกับใครเลยเอาจริง ๆ เหอะ ^^

เราว่าการเขียนของเราวันนี้ทำให้เราเข้าใจตัวเราเองได้มากขึ้นละ และขอขอบคุณ Austin Kleon มากครับสำหรับงานดี ๆ

สวัสดีครับ

--

--

Ada Kaminkure

Indie Game Dev, Software Engineer, Teacher, and Self-Taught Mathematician