ครบรอบ 20 ปีของคำว่า GameJams
กว่า 2 ทศวรรษ ของคำว่า GameJams ที่มีจุดเริ่มต้นในเดือนมีนาคมปี 2002 กับงาน GamJams ครั้งแรกของโลกใบนี้ ในชื่องาน The Indie Game Jam ที่ถูกจัดขึ้นใน Oakland, California [3] นับเป็นการจัด GameJams ครั้งแรกของโลกที่มีเอกสารยืนยันอย่างชัดเจน และเป็นต้นกำเนิดของ GameJams Events ที่แพร่หลายไปทั่วโลก ณ ขณะนี้
การจัดงาน GameJams ได้มีจัดขึ้นอย่างกว้างขว้างทั้งในระดับภูมิภาค และในระดับโลก ซึ่งแต่ละ GameJams ก็มีรูปแบบการจัดงานในหลากหลายรูปแบบ ทั้งในเรื่องของ Theme ในการพัฒนา, เวลาที่ใช้ในแต่ละกิจกรรม แต่สิ่งที่เหมือน ๆ กันเลย ก็คือ ทุก GameJams มีเป้าหมายให้ผู้เข้าร่วมทุกท่าน ได้สร้างเกมขึ้นมาภายใต้เงื่อนไขของ เวลา, สถานที่, เทคโนโลยีที่ใช้ในการพัฒนา, หรือแม้แต่ Theme ที่ทางผู้จัดเป็นผู้กำหนดขึ้น นอกจากน้ี GameJams ยังมุ่งเน้นให้เกิดการสื่อสาร ร่วมมือ ทำงานกันเป็นทีม เพื่อบรรลุเป้าหมายของงานให้ได้
STEM and STEAM Skills
GameJams เป็นงานที่ช่วยให้ผู้ที่กำลังเรียนรู้ ศึกษา Computer Science Concepts อย่าง Computer programming, Artificial Intelligence, Machine learning หรือ Advanced Algorithms ให้เข้าใจในวิธีการที่สนุก และดึงดูด มากกว่าที่ไปศึกษาสิ่งเหล่านี้ด้วยวิธีตรง ๆ ซึ่งการสร้างเกมเป็นวิธีที่มี Potential สูงมากในการนำเสนอหลักการต่าง ๆ ใน Computer Science ให้สามารถนำไปใช้จริง ๆ ได้อย่างมีชีวิตชีวา
ซึ่งแน่นอนว่า GameJams อาจจะเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมงาน สามารถที่จะพัฒนาตัวเองไปถึงขั้นที่สามารถประกอบอาชีพทางสายงานนี้ได้อย่างมั่นใจเลยทีเดียวครับ
นอกจากนี้ GameJams ยังสามารถเป็นวิธีที่สามารถเรียนรู้ STEM หรือ STEAM ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และดึงดูดกลุ่มผู้เรียนทั้งรุ่นเล็ก รุ่นใหญ่ได้อย่างง่ายดาย
กว่า 90% พบว่าผู้ที่เคยเข้าร่วม GameJams มีความรู้สึกว่าอยากที่จะพัฒนาทักษะ และความเข้าใจทางด้าน STEAM ให้สูงยิ่งขึ้นไปอีก เพื่อที่จะได้เข้าใจ Game Development process ได้ดียิ่งขึ้น และที่สำคัญการเรียนรู้ไม่ได้จบหลังจากที่ GameJams event ได้จบลง กลับยิ่งเพิ่มความอยากที่จะเรียนรู้ให้มาขึ้นหลังจากจบงานด้วยซ้ำ [2]
STEM := Science, Technology, Engineering, Mathematics
STEAM := STEM and Arts
Personal and Interpersonal Skills
ความสามารถด้านอื่น ๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วสามารถที่จะวัดผล และจับต้องได้อย่างง่ายได้ภายในงาน GameJams แต่มีอีกกลุ่มทักษะที่ก่อตัวขึ้นมาระหว่างการ Jams ที่เรารู้จักกันในชื่อของ Softskills ซึ่งกลายเป็นทักษะสำคัญสำหรับมนุษย์ยุคปัจจุบัน
เช่น Social skill, reflection และ personal development
GameJams Event มักจะจำกัดไปด้วยเวลาอันสั้น ดังนั้น เมื่อเราทำอะไรที่ผิดพลาดลงไป หรือล้มเหลว ผลของการกระทำต่าง ๆ มักจะกลับมาในรูปแบบของการเรียนรู้ที่รวดเร็ว ซึ่งต่างจากในชีวิตจริง ที่อาจจะต้องใช้เวลาเป็นหลักปี ถึงจะสามารถทราบถึงผลลัพท์ได้ เพราะฉะนั้นแล้ว GameJams Environment จึงเป็นพื้นที่ให้ Jammers ทุกท่านได้ลองเสี่ยง ได้สำรวจพื้นที่ใหม่ ๆ หรืออาจจะได้ลองสร้างนวัตกรรมขึ้นมาด้วยซ้ำไป ซึ่ง [1] Fowler et al. (2016) บอกเราว่าทักษะอย่างเช่น Social- Communication skills, Learning skills, และ organization skills มักจะถูกสร้าง และก่อตัวขึ้นสำหรับผู้เข้าร่วมงานอย่างเห็นได้ชัดในกลุ่ม young learners
ลักษณะของงาน GameJams (Characteristic)
ในเชิงสังคม: ผู้ร่วมงานทุกท่านจะถูกทำให้ต้องสื่อสารพูดคุย กับคนในทีมของตนเอง ซึ่งอาจจะเป็นคนแปลกหน้าที่พึ่งจะมารวมกลุ่มทำงานกันเลยก็เป็นไปได้ รวมถึงต้องออกความคิด ความเห็น ซึ่งแต่ละคนก็จะมีทักษะ ความสามารถที่แตกต่างกันออกไป ทำยังไงทุกคนถึงจะสามารถทำงานร่วมกันได้ อย่างดีที่สุด และสุดท้ายทุกคนมีเป้าหมายเดียวกัน คือ พัฒนาต้นแบบให้สำเร็จ
ในเชิงเงื่อนไขของเวลา: งาน GameJams ส่วนใหญ่จะมีเวลาจำกัดอยู่ในช่วง
12–48 ชั่วโมง ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่กำลังพอดีต่อทั้งผู้จัดงาน และผู้เข้าร่วมงานครับ
ในเชิงธีมของงาน: มักจะขึ้นอยู่กับผู้จัดงานว่าต้องการให้ผู้เข้าร่วม ออกแนวความคิดไปในทางใด ซึ่งผู้จัดงานอาจจะนำเสนอออกมาในรูปแบบของ Keywords, Images, หรือ กฏอะไรซักอย่างหนึ่ง ก็สามารถทำได้ทั้งนั้นครับ
บรรยากาศ หรือภาพรวมของงาน : งาน GameJams ไม่ได้มุ่งเน้นที่การสร้างผลงานที่สำเร็จสมบูรณ์แบบออกมา แต่จะเน้นไปที่การสร้างต้นแบบ (Prototyping) เพื่อแสดงไอเดียออกมาให้เห็นภาพว่าสิ่งที่ต้องการจะสื่อถ้าออกมาเป็นเกมจะสามารถเล่นได้อย่างไร สนุกไหม หรือมีนัยยะอะไรแอบแฝงเอาไว้ก็สามารถที่จะแสดงออกมาได้เช่นเดียวกันครับ (ในบางงานสนใจเฉพาะว่าผู้เข้าร่วมสนุกแค่ไหนด้วย ก็มีนะ)
ลำดับของกิจกรรมในงาน GameJams (Process Flow of GameJams in common)
1. เริ่มต้นที่แนะนำตัวกิจกรรม และธีมของงาน
2. ขั้นตอน Brainstorming เพื่อออกไอเดีย หาแนวทางกันในทีม
3. เร่ิม Main Development phase ลงมือทำเกมกันได้
4. สุดท้ายจะเป็นการส่งผลงานก่อนหมด Deadline
5. แต่ละทีมนำเสนอผลงานของตนเองให้กับคณะกรรมการ
(อาจจะเป็นคณะที่ผู้จัดงานตั้งขึ้นมา หรือเป็นการ Voting จากระบบก็สามารถทำได้เช่นกัน)
สิ่งที่ผู้เข้าร่วมจะได้รับจากการเข้าร่วมงาน GameJams
1. ได้ฝึกฝนฝีมือในการทำงานกันเป็นทีม กับ Game Project
2. ได้เห็นกระบวนการพัฒนาในทุก ๆ ขั้นตอน ซึ่งจะส่งผลทำให้เห็นภาพรวมของการพัฒนา project ใหญ่ ๆ ในอนาคตได้
3. GameJams เป็นรูปแบบของการเรียนรู้แบบ Active Learning อย่างแท้จริง สิ่งใดที่ยังไม่รู้ แต่ต้องทำ และต้องทำในเวลาอันสั้นให้สำเร็จ ผู้เข้าร่วมทุกคนจะได้ unlock skill sets ใหม่ ๆ เหล่านี้
4. GameJams จะทำให้ผู้เข้าร่วมทุก ๆ ท่านได้ค้นพบทักษะใหม่ ๆ ที่ตนยังไม่เคยรู้ ยังไม่เคยเข้าใจ ผ่านการทำงานร่วมกัน กับผู้อื่น และได้เรียนรู้จาก Coach ทุก ๆ ท่านที่เข้าร่วมงาน
—
วันที่ 13 ถึง 15 ตุลาคม 2565
จะมีงาน AdaBrain GameJams 2022 เป็นงาน GameJams ครั้งแรกที่จะจัดขึ้นที่ เมืองโคราช ในโอกาสครบรอบ 20 ปีพอดีเลยครับ
สนใจเข้าร่วมงานไปที่
References
[1 ] Fowler, A., Pirker, J., Pollock, I., de Paula, B. C., Echeveste, M. E., & Gómez, M. J. (2016). Understanding the benefits of game jams: Exploring the potential for engaging young learners in STEM. In _Proceedings of the 2016 ITiCSE working group reports_ (pp. 119–135).
[2] Meriläinen, M., Aurava, R., Kultima, A., & Stenros, J. (2020). Game jams for learning and teaching: a review. _International Journal of Game-Based Learning (IJGBL)_, _10_(2), 54–71.
[3] Lai, G., Kultima, A., Khosmood, F., Pirker, J., Fowler, A., Vecchi, I., … & Fol Leymarie, F. (2021, August). Two decades of game jams. In _Sixth Annual International Conference on Game Jams, Hackathons, and Game Creation Events_ (pp. 1–11).